วางแผนมรดก Legacy Plan


วางแผนมรดก



พูดถึง “การวางแผนมรดก” หลายคนคงส่ายหน้าหนี ไม่เคยคิดที่จะวางแผนมรดกเลยสักครั้ง เพราะคิดว่าเป็นเรื่องของคนรวย คิดว่าตัวเองมีทรัพย์สินไม่มากนักจะทำไปทำไมให้เสียเวลา หรือไม่ก็คิดว่าเป็นการแช่งตัวเอง ความคิดเหล่านี้ถือเป็นทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ลองปรับทัศนคติเสียใหม่.... ไม่ใช่แค่คนรวยที่มีทรัพย์สมบัติเงินทองมากๆ
หากใครยังมึนๆ งงๆ ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนดี ลองเริ่มจากการติดตามทรัพย์สินและหนี้สินของคุณที่กระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งต่างๆ ให้มารวมอยู่แหล่งเดียวกัน โดยการจดบันทึกไว้ว่าตนเองมีทรัพย์สินและหนี้สินอะไรเป็นจำนวนเท่าไหร่? อยู่ที่ไหน? เพื่อให้เป็นระบบระเบียบและสะดวกตอนทำพินัยกรรมมากยิ่งขึ้น

                                       
ที่ต้องกล่าวถึงหนี้สิน เพราะหนี้สินก็อยู่ในข่ายที่จะเป็นมรดกตกทอด
ถึงทายาทได้เช่นเดียวกับทรัพย์สิน ดังนั้น คุณจึงควรระบุไว้ด้วยว่า...
คุณมีหนี้สินอยู่ที่ไหนรวมเป็นเงินเท่าไหร่? เพื่อจะได้นำเงินในกอง
มรดกมาชำระหนี้สินให้เรียบร้อยก่อนแบ่งสรรปันส่วนกัน

จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนการทำ พินัยกรรม โดยพินัยกรรมถือเป็นคำ
สั่งเสียครั้งสุดท้าย เพื่อให้แน่ใจว่า...ทรัพย์สินจะถูกส่งต่อหรือถ่ายโอน
ไปยังบุคคลที่คุณรัก

กรณีที่คุณจากไปโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมทิ้งไว้ หรือมีพินัยกรรมแต่หา
ไม่พบ ทรัพย์สินของคุณจะถูกจัดสรรให้แก่ทายาทตามลำดับและตาม
สัดส่วนที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
1. บุตรและคู่สมรส
2. บิดา มารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา

ฉะนั้น ทางออกที่ดีที่สุดในการจัดการกับทรัพย์สมบัติของคุณ ไม่ว่า
จะมากหรือน้อยก็ตาม คือ รู้จักวางแผนมรดกและใช้พินัยกรรมเป็น
เครื่องมือ คุมเกม เพราะถึงแม้จะเสียชีวิต แต่คุณยังมีสิทธิคุมเกม
การเงินได้ตามกฎหมาย จะยกอะไรให้กับใครก็ได้

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมรดกตาม พระราชบัญญัติ
ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก
คือ ผู้รับมรดกที่ได้มรดกสุทธิหลังหักภาระติดพันต่าง แล้ว เช่น
ภาระจำนอง จากเจ้ามรดกแต่ละรายในคราวเดียวหรือหลายคราว
ให้เสียภาษีเฉพาะมูลค่ามรดกสุทธิส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท
ในอัตราภาษีร้อยละ 10 แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบ
สันดานก็ให้เสียภาษีในอัตราภาษีร้อยละ 5 ไม่คำนึงถึงจำนวนครั้ง
หรือ จำนวนหน่วยของทรัพย์มรดกที่ได้รับ โดยทรัพย์มรดกที่ต้องเสีย
ภาษีต้องเป็นสิ่งของที่มีทะเบียน ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์
เงินฝาก ยานพาหนะ และทรัพย์สินทางการเงินอื่น ที่กฎหมายกำหนด

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก ได้แก่

1. บุคคลที่มีสัญชาติไทย (บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล)
2. บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีถื่นที่อยู่ในประเทศไทยหรือ
    ได้รับทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

ผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีการรับมรดก ได้แก่

1. ผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกที่ตายก่อนวันที่กฎหมายใช้บังคับ
2. คู่สมรสของเจ้ามรดก
3. บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความ
    ประสงค์ให้ใช้มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา
    หรือกิจการสาธารณประโยชน์
4. หน่วยงานของรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ใน
    กิจการศาสนา กิจการศึกษาหรือกิจการสาธารณประโยชน์
5. บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่
    ต่อองค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือ
    ตามสัญญาหรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันกับนานาประเทศ

(ที่มา: พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558)